ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี ไปทำไม สิ่งที่นายจ้างต้องรู้ก่อนถูกดำเนินคดี

by Sarah Hamilton
439 views
ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี

สถานประกอบการต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีตามกฎหมาย การตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี หากเรามีคำถามว่าเราจะต้องตรวจไปทำไม คำตอบก็คือ “กฏหมายบังคับให้สถานประกอบกิจการจะต้องทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีโดยวิศวะกร” และให้ออกหนังสือรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร ในกฎหมายปัจจุบันมีด้วยกันอยู่สองหน่วยงาน ได้แก่

  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • และกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ทั้งสองหน่วยงานนี้ได้ออกประกาศบังคับให้นายจ้างหรือสถานประกอบการ จะต้องทำการตรวจรายงานระบบไฟฟ้าประจำปีและ ทำการปรับปรุงแก้ไขตามข้อคิดเห็นของวิศวกรผู้ตรวจสอบ เพื่อให้ระบบไฟฟ้าในสถานประกอบกิจการของตนเองนั้น เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานและชุมชนโดยรอบ

การตรวจเช็คตู้MBD

เหตุผลสำคัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

  • เพื่อนายจ้างจะต้องทำการส่งรายงานรับรองการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี ที่เขตพื้นที่กรมสวัสดิการในจังหวัดของตนเอง ส่วนกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีคำสั่งให้ตรวจสอบและเก็บรายงานการตรวจรับรองไว้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้กรณีที่เจ้าหน้าที่แรงงานเข้าไปตรวจสอบ จะต้องสามารถดูรายงานดังกล่าวได้ หลักใหญ่ใจความก็ คือ ตรวจและเก็บรายงานเอาไว้ไม่ต้องไปส่งราชการนั่นเอง
  • หลายคนมักมีข้อสงสัยว่าการตรวจสอบระบบไฟฟ้า หากเรามีวิศวกรไฟฟ้าในสถานประกอบกิจการเอง สามารถตรวจสอบได้หรือไม่คำตอบก็ คือ “กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ที่จะต้องทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 กล่าวไว้ คือต้องได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องให้เป็นผู้ที่มีความสามารถตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าได้นั่นเอง หากวิศวะกรคนไหนสนใจที่จะทำการตรวจสอบหรือรับรองก็ต้องนำเอกสารต่างๆ ไปยื่นขึ้นทะเบียนเสียก่อน และพอได้เลขอนุญาตมาจึงจะสามารถให้บริการตรวจรับรองระบบไฟฟ้าได้

ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า

  • การเกิดอัคคีภัยหรือไฟไหม้นั้นมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีการลัดวงจร ทำให้เกิดความเสียหาย เนื่องมาจากระบบไฟฟ้าดังกล่าวไม่เคยมีการบำรุงรักษาตามแผนงาน หรือมีการตรวจสอบก่อนที่จะเกิดการชำรุดกระทันหัน สิ่งเหล่านี้สถานประกอบกิจการควรให้ความตระหนักอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นแล้วมีความอันตราย ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและรวมไปถึงผลกระทบกับชุมชนโดยรอบ และทรัพย์สินที่มีมูลค่าในสถานประกอบกิจการของเรา
  • เหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร  ไฟไหม้ หรือ ไฟฟ้าช๊อตผู้ปฏิบัติงาน สิ่งเหล่านี้จึงตอบคำถามว่าทำไมเราถึงต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าของเราให้พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าในการดำเนินธุรกิจของเราจะไม่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ไฟฟ้าดับกระทันหัน อันเนื่องมาจากอุปกรณ์ชำรุดหรือพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นช่างซ่อมบำรุงไฟฟ้า หรือบุคคลภายนอกก็ตาม เหตุผลนี้จึงควรมีการจัดตรวจรับรองหรือตรวจสอบบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ให้มั่นใจอยู่เสมอว่าระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ของเราจะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนตลอดเวลาที่ทำการดำเนินธุรกิจ

แผนงานการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี

ส่วนใหญ่โรงงานในประเทศไทยหรือสถานประกอบกิจการมักจะจัดทำแผนในการ ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี ในช่วงปลายปี อาจจะเป็นเดือนพฤศจิกายนหรือช่วงธันวาคม สาเหตุเป็นเพราะ บางที่อาจจะทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า เมื่อมีโอกาส หรือมีวันหยุดยาวที่สามารถหยุดกระบวนการผลิต เพื่อตัดไฟในวันดังกล่าว ก็จะสามารถทำการซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย การซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่ดีที่สุดควรจะต้องทำการตัดไฟเพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูดขณะที่เราทำการซ่อมแซมหรือตรวจสอบระบบไฟฟ้านั่นเอง

วางแผนการตรวจไฟฟ้าประจำปี

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าจะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง

ซึ่งโดยตามมาตรฐานของกฎหมายแล้วผู้ที่ทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าจะต้องเริ่มทำการตรวจสอบตั้งแต่ต้นทาง ไปจนถึงปลายทางเรียกได้ว่าเริ่มตรวจสอบกันตั้งแต่หม้อแปลงด้านนอกที่จ่ายไฟเข้ามาในสถานประกอบกิจการของเรา

  • สรุปได้คือ จากหม้อแปลงของการไฟฟ้าเข้ามาถึงหม้อแปลงภายในโรงงาน และจากหม้อแปลงภายในโรงงานผู้ที่ตรวจสอบจะต้องทำการตรวจสอบ ไล่ไปจนถึงตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า MDB ว่าสามารถทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ ขณะที่เราทำการตรวจสอบตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าวิศวกร จะทำการเปิดตู้ทั้งข้างหน้าและข้างหลังเพื่อดูว่าอุปกรณ์ต่างๆ ระบบสายไฟต่างๆ ได้เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่และหลังจากนั้นจะทำการใช้กล้องถ่ายรังสีความร้อน เพื่อสแกนดูจุดต่อต่างๆ ว่ามีความร้อนสะสมเกินปริมาณที่กำหนดหรือไม่ หากมีจุดไหน ที่มีความร้อนสะสมมากก็ควรลงบันทึกในรายงาน เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ที่ว่าจ้างบริการให้มาตรวจสอบระบบไฟฟ้าได้รู้
  • และวางแผนในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมจุดดังกล่าวเมื่อมีโอกาส เช่น วันหยุดเทศกาลต่างๆ หากมีโอกาสได้หยุดไฟหรือปิดระบบไฟฟ้า ก็ควรทำการเปลี่ยนจุดที่มีความร้อนสะสมและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกัน การเบรคดาวน์ กระแสไฟฟ้าดับกระทันหันขณะที่เดิน ไลน์ผลิต จากนั้นควรมีการตรวจสอบระบบสายดินในทุกๆตู้ควบคุม ว่ามีการต่อสายดินไปยังหลักกราวน์และทำการตรวจวัดค่ากราวน์ ว่ามีค่าสูงกว่ามาตรฐานหรือไม่ วิศวกรควรทำการตรวจสอบโดยการไล่สายตั้งแต่ จุดตู้ควบคุมไปจนถึงหลักดินในบริเวณพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าตลอดการเดินสายดินนั้น สายดังกล่าวยังมีสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันหากมีเหตุการณ์ไฟรั่ว สายดินจะเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้พนักงานหรือผู้ที่ทำงานถูกกระแสไฟฟ้าดูดนั่นเอง

เรื่องที่คุณอาจชอบ

แหล่งความรู้ดีๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้คุณได้อ่านแบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมอัปเดทความรู้ใหม่ในทุกวัน

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by greatandgoodfriends