การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าประจำปีมีอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร
ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงานเพราะปัจจุบันทุกช่วงเวลาของชีวิตจะต้องมีไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนนอนหลับไปและ ส่วนที่สำคัญในระบบไฟฟ้าที่ขาดไม่ได้คือหม้อแปลงไฟฟ้าเพราะเป็นอุปกรณ์หลักที่ทำให้เราสามารถนำไฟฟ้ามาใช้ได้
หน้าที่ของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าในวงจรหนึ่งให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่เท่ากันในอีกวงจรหนึ่ง ซึ่งจะแปลงด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ และหม้อแปลงยังทำหน้าที่ในการเพิ่มหรือลดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร แต่ไม่สามารถเพิ่มหรือลดกำลังไฟฟ้าและความถี่ได้ โดยหม้อแปลงจะทำงานบนหลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับถูกนำไฟใช้กับขดลวดปฐมภูมิ แรงดันไฟฟ้าถูกเหนี่ยวนำไปยังขดลวดทุติยภูมิส่งผลให้มีกระแสไฟฟ้าออกมาให้ใช้งานได้ โดยการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าจะขึ้นกับอัตราการหมุนของขดลวดทั้งสองนี้
อุบัติเหตุที่เกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้า
อุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้า คือ หม้อแปลงระเบิด ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักส่งผลเสียเป็นอย่างมาก เพราะไฟฟ้าเป็นส่วนที่สำคัญในการดำรงชีวิต ทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสาเหตุของหม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- เกิดจากโอเวอร์โหลดของหม้อแปลง ทำให้หม้อแปลงร้อนมาก
- น้ำมันหม้อแปลงเสื่อมสภาพ ทำให้น้ำมันในหม้อแปลงร้อนจัดจนเดือด ซึ่งหม้อแปลงไฟฟ้า ทุกหม้อจะต้องมีน้ำมันชนิดหนึ่งอยู่ข้างใน โดยน้ำมันดังกล่าวทำหน้าที่ 2 หน้าที่ คือ
1. ทำหน้าที่เป็นน้ำมันหล่อเย็นระบายความร้อน
2. ทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
ซึ่งในหม้อแปลงจะมีการกรอกน้ำมัน 500 ลิตร ถึง 1,000 ลิตร ขึ้นอยู่กับขนาดหม้อแปลง
- เกิดจากอาร์โมนิกส์
- การต่อหม้อแปลงไม่ถูกต้อง
- กระแสไฟฟ้ารั่ว
- ฟ้าผ่าแล้ว lightning ไม่ทำงาน หรือ ground ที่หม้อแปลงไม่ดี ทำให้เกิด voltage return มาตกคร่อมที่ insulation ของหม้อแปลง
- ความร้อนในหม้อแปลงที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากหม้อแปลงข้างต้น สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจสอบหม้อแปลงเป็นประจำทุกปี เพื่อให้หม้อแปลงไฟฟ้ามีความปลอดภัย และพร้อมใช้งานอยู่เสมอในการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้ามีกฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่
ตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า กำหนดไว้ว่า “ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าของสถานประกอบกิจการเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจัดทำบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า” โดยให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นผู้ดำเนินการ
– กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโรงงาน พ.ศ. 2550 กำหนดไว้ว่า “ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจำทุกปีและต้องมีเอกสารเป็นหลักฐาน”
ซึ่งในบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าจะมีรายละเอียดการตรวจสอบไว้อย่างละเอียดและในส่วนท้ายของรายงานจะมีสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะไว้หากมีข้อที่ต้องดำเนินการแก้ไขจะถูกบันทึกไว้ตรงส่วนนี้และหากมีข้อที่ต้องแก้ไขผู้ประกอบกิจการควรรีบดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานระบบไฟฟ้า
ข้อดีของการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้า ทำหน้าที่นำพลังงานไฟฟ้าให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า และต้องทำหน้าที่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นประจำทุกปี โดยข้อดีของการบำรุงรักษาหม้อแปลงประจำปี มีข้อดีมากมาย เช่น
- สามารถรับและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุ
- สามารถแก้ปัญหา หรือจุดบกพร่องได้ก่อนจะมีอุบัติเหตุหรือไฟไหม้เกิดขึ้น
- ยืดอายุการใช้งาน
- ป้องกันความเสียหายจากหม้อแปลงไฟฟ้า ที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิต ทำให้หยุดชะงัก
- ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อหม้อแปลง เพราะหากเกิดความเสียหายเกิดขึ้น ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงตามมา
สรุป
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากหม้อแปลงไฟฟ้า มักเกิดจากการระเบิด ซึ่งในการระเบิดที่เกิดขึ้น เกิดจากการขาดการบำรุงรักษาตามระยะเวลา หรือการบำรุงรักษาประจำปี ซึ่งหม้อแปลงไฟฟ้าทำงานตลอดเวลา ไม่มีหยุดพัก จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบประจำปี เพื่อเป็นการป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุหรือไฟไหม้เกิดขึ้น
บันทึกผลการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าจะมีรายละเอียดในการตรวจสอบระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าโดยละเอียดโดยระบุข้อมูลทั่วไปของหม้อแปลงไฟฟ้าไว้ว่ามีหม้อแปลงกี่เครื่องรวมแล้วกี่ KVA โดยรายการตรวจสอบหม้อแปลงจะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด